แบตเตอรี่รถยนต์ที่ขายอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นแบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด สูตรทางเคมีจะมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำปฎิกิริยาทางเคมี
แบตเตอรี่ชนิดตะกั่ว-กรด จะจ่ายกระแสไฟฟ้าทันที เมื่อขั้วบวกและขั้วลบต่อกับวงจรภายนอก กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้น จากปฎิกิิริยาเคมีระหว่างกรดกำมะถันกับแผ่นธาตุบวก (ตะกั่วไดออกไซด์) และตะกั่วพรุนของแผ่นธาตุลบ ในขณะที่จ่ายไฟฟ้าออก ออกซิเจนในตะกั่วไดออกไซด์ จะรวมตัวกับไฮโดรเจนในกรดกำมะถันเกิดเป็นน้ำ ในขณะเดียวกันกับตะกั่วไดออกไซด์ จะรวมตัวกันกับอนุมูลซัลเฟตในกรดกำมะถันเกิดเป็นสารประกอบชนิดใหม่ คือตะกั่วซัลเฟต ในขณะเดียวกันตะกั่วพรุนในแผ่นธาตุลบ ก็จะรวมตัวกับอนุมูลซัลเฟตในกรดกำมะถัน จะเกิดตะกั่วซัลเฟต เช่นเดียวกัน
สรุปได้ว่า ขณะที่แบตเตอรี่จ่ายไฟฟ้าออก จะเกิดตะกั่วซัลเฟตขึ้นทั้งที่แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ ส่วนกรดกำมะถันก็ถูกนำไปใช้จนเกิดเป็นน้ำขึ้นมา ถ้าจ่ายไฟไปเรื่อยๆ กรดกำมะถันก็จะเจือจางไปเรื่อยๆ ส่วนปฎกิริยาเคมีจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งแผ่นธาตุบวก และแผ่นธาตุลบถูกเปลี่ยนเป็นตะกั่วซัลเฟตเกือบหมด แบตเตอรี่ก็จะไม่สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ต่อไป ต้องนำไปอัดกระแสไฟฟ้าใหม่